วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กะเพรา


กะเพรา








ชื่อวิทยาศาสตร์    Ocimum sancium Linn.
วงศ์                  Labiatae
ชื่อสามัญ           Holy basil, Sacred basil
ชื่ออื่น               กระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่ และภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
ลักษณะ :
ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตรออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาวโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลมผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกกะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดงดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
สารสำคัญที่พบ :
ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค สเตียริค โอเลอิค กรดไลโนเลนิค และเมล็ดจะมีเมือกหุ้มอยู่ เมื่อสลายตัวจะให้สารไซโลส กรดกลูคูโรนิค คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหย( Essential oil ) และประกอบกับสารอื่นอีกเช่น Apigenin,Ocimol, Phenols, Chavibetol, Linalool, Organic Acid ใบกะเพรามีทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยขับลมเพราะในน้ำมันหอมระเหยนั้น
สรรพคุณทางยา :
1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียนและบำรุงธาตุ โดยต้มใบสดและยอดอ่อนรวมกัน ดื่มแต่น้ำ
2. ช่วยขับน้ำนม เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด โดยใช้ไปสดใส่ในแกงเลียง
3. รรรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โดยใช้ใบสดผสมเกลือเพียงเล็กน้อยตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่เป็น
4. ใช้ไล่ยุง ฆ่ายุง โดยนำใบสดขยี้พอมีกลิ่นแล้วนำไปไว้ใกล้ต้ว
5. แก้อาการปวดหู โดยใบสดไปตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปหยอดหู
ใบ     ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
          เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
          สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
          ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
          ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
          ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด  เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
          นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก     ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ



 








วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

thai curry: ครองแครงกรอบ

thai curry: ครองแครงกรอบ:      วันนี้สาวนุ้ยว่างจัดเลยจัดเต็มกะเจ้าครองแครงกรอบของโปรดหน่อยค่ะ พอดีทำเอาไปให้ที่ฝึกงานชิมน่ะค่ะ (ฝึกงานที่ร้านเบเกอรี่ ช่วงนี้ว่... ชื่อวิทยาศาสตร์ : วงศ์ : ชื่อสามัญ : ชื่ออื่น : ลักษณะ : ประโยชน์ทางสมุนไพร :ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ราก เมล็ด สรรพคุณ :

Amezon

comment