แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กะเพรา


กะเพรา








ชื่อวิทยาศาสตร์    Ocimum sancium Linn.
วงศ์                  Labiatae
ชื่อสามัญ           Holy basil, Sacred basil
ชื่ออื่น               กระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่ และภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
ลักษณะ :
ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตรออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาวโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลมผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกกะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดงดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
สารสำคัญที่พบ :
ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค สเตียริค โอเลอิค กรดไลโนเลนิค และเมล็ดจะมีเมือกหุ้มอยู่ เมื่อสลายตัวจะให้สารไซโลส กรดกลูคูโรนิค คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหย( Essential oil ) และประกอบกับสารอื่นอีกเช่น Apigenin,Ocimol, Phenols, Chavibetol, Linalool, Organic Acid ใบกะเพรามีทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยขับลมเพราะในน้ำมันหอมระเหยนั้น
สรรพคุณทางยา :
1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียนและบำรุงธาตุ โดยต้มใบสดและยอดอ่อนรวมกัน ดื่มแต่น้ำ
2. ช่วยขับน้ำนม เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด โดยใช้ไปสดใส่ในแกงเลียง
3. รรรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โดยใช้ใบสดผสมเกลือเพียงเล็กน้อยตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่เป็น
4. ใช้ไล่ยุง ฆ่ายุง โดยนำใบสดขยี้พอมีกลิ่นแล้วนำไปไว้ใกล้ต้ว
5. แก้อาการปวดหู โดยใบสดไปตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปหยอดหู
ใบ     ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
          เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
          สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
          ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
          ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
          ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด  เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
          นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก     ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ



 








วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขี้เหล็ก


ขี้เหล็ก


ชื่อวิทยาศาสตร์    Cassia siamea (Lamk.) Irwin et Barneby
วงศ์                  Fabaceae (Leguminosae)
ชื่อสามัญ           Cassod tree, Siamese senna, Thai copperpod, Siamese cassia
ชื่อท้องถิ่น          ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่, ผักจี้ลี้, แมะขี้เหละพะโดะ, ยะหา
ลักษณะ :
ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ
      ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
คุณค่าทางอาหาร :
ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ต้องคั้นน้ำทิ้งหลาย ๆ ครั้งก่อนจึงเอามาปรุงอาหารได้ นิยมนำมาทำแกงกะทิ หรือทำเป็นผักจิ้มจะช่วยระบายท้องได้ดีทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารหลายอย่างคือ วิตามิน เอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูงในดอกมีมากกว่าใบเอาใบขี้เหล็กมาบ่มรวมกับผลไม้จะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น
สรรพคุณ :
- ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ รักษารังแค ขับพยาธิ
- ราก รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
- ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
- ทั้งต้น แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
- เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย
- กระพี้ รสขมเฝื่อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด
- ใบ รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการ นอนไม่หลับ
- ฝัก แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
- เปลือกฝัก แก้เส้นเอ็นพิการ
- ใบแก่ ใช้ทำปุ๋ยหมัก
ประโยชน์
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ แปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น เสา รอด ตง เครื่องเรือนอย่างดี, เป็นฟืนให้ความร้อน 4,441 แคลอรี่/กรัม ถ้าเป็นถ่านให้ความร้อนสูง 6,713 - 7,036 แคลอรี่/กรัม
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ปลูกเป็นพรรณไม้ปรับปรุงดินเนื่องจากใบมีธาตุไนโตรเจนสูง ช่วยปกคลุมดินและความชื้นได้ดี เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกเป็นป่าอนุรักษ์ในที่ที่มีความชื้นปานกลาง - สูง
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานได้ ใช้ทำแกงขี้เหล็กได้
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร







วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Ginger: ขิง


ขิง




 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Zingiber officinale Roscoe.
วงศ์ :  ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อท้องถิ่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ(แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง), เกีย(จีนแต้จิ๋ว)
ลักษณะ :

ขิงเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ :

ในเหง้าขิงมี น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) , ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค

สรรพคุณ :

เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
แก่น : ฝนทำยาแก้คัน

ประโยชน์ :

รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถเมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

อาการไอ มีเสมหะ ใช้เหง้าขิงแก่ผสมกับน้ำมะนาว หรือ ใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำแทรกเกลือนิดหน่อยใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
 
แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้เหง้าขิง น้ำตาลทรายแดง และพุทราแห้ง ต้มดื่มวันละครั้ง 

ผมร่วง ใช้เหง้าสดนำมาผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง หัวเริ่มล้าน วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้พอกต่อไปสักระยะ

แก้สะอึก ใช้ขิงสดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้ง คนให้เข้ากัน ทำเป็นน้ำขิงสดรับประทาน 

ช่วยขับเหงื่อ นำขิงแก่มาปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากในที่ร่มจนแห้ง ( 2 วัน) เอาขิงแห้ง 3 กรัม ไปต้มกับน้ำ 1 แก้วจนเดือด เป็นเวลา 3 นาที เอาเฉพาะส่วนน้ำมาเติมน้ำตาลทรายขาว 

แก้ตานขโมย นำขิง พริกไทย ใบกะเพรา ไพล มาบดผสมกันรับประทาน

แก้ไข้ ร้อนใน ใช้ลำต้นที่แก่สดทุบแตกประมาณ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม

บริเวณที่ถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาวางทับ แผลที่บีบน้ำเหลืองออก

แก้ไอ   นำขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไป ครึ่งแก้ว ปิดฝาตั้งไว้ 5 นาที รินเอาแต่น้ำดื่ม ระหว่างอาหารแต่ละมื้อ หรือ นำเหง้าขิงมาฝานเป็นแผ่นจิ้มเกลือ รับประทาน 

กำจัดกลิ่นรักแร้ ใช้เหง้าขิงแก่มาทุบ คั้นเอาแต่น้ำขิง ทารักแร้เป็นประจำจะช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา 

แผลเริมบริเวณหลัง ใช้เหง้า 1 หัว เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อยๆ นำผงถ่านที่ได้ผสมกับน้ำดีหมูใช้ทาบริเวณที่เป็น 

ฟกช้ำจากการหกล้ม หรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสดมาตำกับเหล้าพอก หรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย 100 กรัม บดเป็นผงผสมกับเหล้ากินติดต่อกันประมาณ 3 วัน

หนังมือลอกเป็นขุย ให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง เอาแผ่นขิงที่ผ่านการแช่มาถูกทาตามบริเวณที่เป็น วันละ 2ครั้ง

แก้หวัด นำขิงแก่ขนาดประมาณหัวแม่มือ ทุบให้แตก หั่นเป็นแว่นต้มน้ำ 1 แก้ว ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มน้ำให้เดือดนาน 5 นาที เสร็จแล้วตักขิงออก เติมน้ำเพิ่มเล็กน้อย ดื่มขณะยังอุ่น ทำอย่างนี้ 3 เวลา เช้า - กลางวัน - เย็น  


ข้อควรระวัง  :

การใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ จะให้ผลตรงข้าม คือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้จนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ดังนั้นการดื่มน้ำที่สกัดจากขิงไม่ควรใช้น้ำเข้มข้นมากเกินไป เพราะจะไม่ให้ผลในการรักษาตามที่ต้องการ




วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใบบัวบก



ใบบัวบก
      
      ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว  ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน 
และยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก   ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น  ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ)  
บราโมไซ  บรามิโนไซ  มาดิแคสโซไซ(เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ)   กรดมาดิแคสซิค  ไทอะมิน(วิตามินบี 1) 
ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2)  ไพริดอกซิน(วิตามินบี6)  วิตามินเค แอสพาเรต  กลูตาเมต  ซีริน  ทรีโอนีน  อลานีน  ไลซีน  ฮีสทีดิน
  แมกนีเซียม  แคลเซียม โซเดียม 
ชื่อวิทยาศาสตร์       Centella asiatica Urban.
วงศ์                         UMBELLIFERAE

 ลักษณะ
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง
แตกได

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น     เป็นไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีรากออกตามข้อชูใบตั้งตรงขึ้นมา
ใบ      เป็นใบเดี่ยวมีก้านชูใบยาว ลักษณะเป็นรูปไตหรือรูปกลม มีรอยเว้าลึกที่ฐานขอบใบมีรอยหยักผิวในด้านบนเรียบ
ดอก    ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่มออกจากข้อ มี 2 - 3 ข้อ ช่อละ 3 - 4 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ 
          สีม่วงอมแดงโดยเรียงสลับกับเกสรตัวผู้ ผล ขนาดเล็กมากสีดำ

 คุณค่าทางอาหาร
คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
CalMoist ureProteinFatCHOFibreAsh .CaPFeA.I.UB1B2NiacinC
Unit%Gm.Gm.Gm.Gm.Gmmg.mg.mg.mg.mg.mg.mg.
ใบบัวบก44861.80.97.12.61.7146303.910960.240.090.84
 สรรพคุณ
ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด
คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด
madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลากปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม
ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
แก้ท้องเสีย


ถั่วงอก


ถั่วงอก


 
ชื่อวิทยาศาสตร์    Vigna radiata (L.)
วงศ์                  Fabaceae
ชื่อสามัญ          mungbean seedling
ประโยชน์ :
กระบวนการงอกทำให้โมเลกุลของสารอาหารในเมล็ด เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย โปรตีนเป็นกรดอะมิโนแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคลส และไขมันเป็นกรดไขมัน เพราะกระบวนการงอกได้ช่วยย่อยสารอาหารมาแล้วชั้นหนึ่ง  ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมาก เท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยาหาร ลดของเสียและสิ่งตกค้าง (toxin) ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ร่างกายจึงเสื่อมช้า ไม่แก่เร็ว
           ถั่วงอกย่อยง่ายจะมีความสำคัญสำหรับใครแค่ไหน ต้องพิจารณาแบบแผนการกินโดยรวมของผู้นั้นประกอบไปด้วย คิดแต่ถั่วงอกแต่เดียวโดดๆ ไม่ได้สำหรับนักมังสวิรัติถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ประสานสอดคล้องกับผักและอาหารมังสวิรัติอื่นๆ ในทิศทางที่เกื้อต่อสุขภาพโดยรวม หากผู้ใดมีแบบแผนการกินที่พาเอาแต่อาหารย่อยยาก
อาหารมีพิษเข้าร่างกายการกินถั่วงอกในบางครั้งก็ไม่มีทางแก้ร้ายให้เป็นดี ถั่วงอกมีโปรตีนสูงกว่าถั่วธรรมดาหรือไม่ นักนิยมถั่วและเมล็ดงอกมักอ้างว่า กระบวนการงอกทำให้ปริมาณโปรตีนมีสูงขึ้น แต่หลักฐานสนับสนุนยังไม่แข็งแรงมีน้ำหนักนัก ผลการวิจัยที่ยอมรับกันกว้างขวางมีเฉพาะเมล็ดข้าวโพดงอก ซึ่งพบว่าการงอกทำให้มีกรดโปรตีนที่จำเป็นสำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น (  กรดไลซินและไตรโทปัน ซึ่งไม่พบในเมล็ดข้าวโพดแห้ง  )   อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่าโดยทั่วไปโปรตีนของถั่วงอกมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย (  จาก 2% เป็น 5%  )
สลายความแก่ด้วยถั่วงอก
ผักดั้งเดิมที่รู้จักกันมานานแสนนาน ก้อคือ ถั่วงอก มีลักษณะสีขาว ลำต้นยาวๆ ที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วเขียว วิธีการปลูกก็ไม่ยาก สามารถทำด้วยตัวเองได้ เพียงแค่มีกระกระดาษทิชชูหรือสำลีที่ชุบน้ำหมาดๆ และโรยเมล็ดถั่วเขียวลงไป รออีกไม่กี่วันก็งอกออกมาเป็น ถั่วงอกแล้ว
        เค้าว่ากันว่า ถั่วงอกนั้นถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารของชาวเอเชียเลยทีเดียว เพราะประเทศแรกที่เพาะถั่วงอกหัวโตกินคือประเทศจีน คนจีนโบราณใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งวิตามินซีในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก โดยเฉพาะกะลาสีเรือที่กินถั่วงอกเพื่อช่วยป้องกันรักษาโรค ลักปิดลักเปิด
        เห็นถั่วงอกเป็นต้นเล็กๆแบบนี้อย่าคิดว่ามันไม่มีคุณค่า คุณค่ามันมีมากเช่น เมื่อเรานำถั่วเหลืองมาเพาะเป็นถั่วงอกจะมีวิตามินซีสูง ส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย นอกจากนั้นก็มีวิตามินบี12 ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ถั่วงอกมีธาตุเหล็กที่ร่างกายย่อยง่ายกว่าผักอื่นๆ และยังมีวิตามินบี 17 และสารเลซิธิน ที่ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง
และที่น่าสนใจที่สุดคือ สำหรับหนุ่ม-สาวที่ไม่อยากแก่เร็ว ขอบอกว่าถั่วงอกมีสารต้านความแก่คือ ออซินอน มีคุณสมบัติทำให้ร่างกายไม่แก่เร็วเกินไปก่อนเวลาอันควรและช่วยชลอความแก่อีกด้วย
        เนื่องจากว่าถั่วงอกให้วิตามินซีสูง การแพทย์จีนจึงนำถั่วงอกหัวโตไปต้มในแกงจืดกิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่งและขับปัสสาวะ ส่วนโมเลกุลของสารอาหารในเมล็ดถั่วงอกในร่างกายเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายย่อยง่าย โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคส และไขมันเป็นกรดเรียบร้อยแล้ว ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่ายมาก ดังนั้นการรับประทานถั่วงอกจะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก ลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ก็ทำให้ร่างกายเสื่อมช้า ไม่แก่เร็ว
เทคนิคในการเพาะถั่วงอก 
1. การเลือกเมล็ดถั่วเขียว ควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดีไม่ใหม่หรือ เก่าเกินไป อายุการเก็บรักษาประมาณ 3-6 เดือน 
2. ภาชนะเพาะถั่วงอก มีให้เลือกหลายแบบและหลายชนิด ขึ้นอยู่ กับวิธีการเพาะและการใช้วัสดุเพาะ แต่ที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกควร เป็นภาชนะผิวเรียบทรงตรง หรือปากแคบเล็กน้อย เพื่อเป็นการจำกัดพื้นที่ ในการงอกของเมล็ดถั่วเขียวจะทำให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วนมากขึ้นและ ภาชนะควรมีสีดำ หรือสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง และข้อสำคัญภาชนะต้อง สะอาดก่อนนำไปเพาะถั่วงอกทุกครั้ง 
3. การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ การแช่เมล็ดก่อนเพาะเป็นการช่วย เร่งให้ระยะเวลาเพาะถั่วงอกเร็วขึ้น ในกรณีที่เพาะหลายครั้งแล้วถั่วงอกยัง เน่าอยู่ ไม่แน่ใจว่าเมล็ดมีเชื้อโรคติดมาหรือไม่ ให้แช่เมล็ดในน้ำคลอรีนก่อน โดยใช้คลอรีนผง 1/2-1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 1 ชั่วโมง เพื่อล้าง เชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด หลังจากนั้นจึงแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 55-60 องศา- เซลเซียส อีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง จุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในชั่วโมง แรกของการแช่น้ำของเมล็ด จะมีเมล็ดบางส่วนพองตัวอย่างรวดเร็ว เมล็ด ลักษณะนี้จะเป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย และเมล็ดที่เสื่อม คุณภาพ ต้องล้างหรือเก็บออกให้หมด รวมทั้งเมล็ดแตกด้วย เพราะเมล็ด เหล่านี้จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่า ดังนั้น การล้างเมล็ดในช่วงนี้ เพื่อจะช่วยให้เมล็ดถั่วเขียวมีความงอกสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น 
4. น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการงอกของเมล็ด ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำประปาหรือถ้าเป็นน้ำบาดาลต้องปล่อยทิ้งให้เย็นและตกตะกอนก่อนนำมาใช้รดถั่วงอก การให้น้ำถั่วงอกนอกจากใช้ในการเจริญเติบโตแล้ว ยัง ใช้ในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจระหว่างการเจริญเติบโต ของต้นอ่อนภายในภาชนะด้วยการให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่มากพอ กล่าวคือให้จน กระทั่งน้ำที่ไหลออกมาทางก้นภาชนะเย็นเท่ากับน้ำที่รดให้ การให้น้ำเพียง เล็กน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่าได้ เพราะเกิดการสะสมความ ร้อนในภาชนะ



 





ขมิ้น





                         ขมิ้น





ชื่อวิทยาศาสตร์    Curcuma longa Linn., Curcuma domestica Valeton.
วงศ์                  Zingiberaceae
ชื่อสามัญ            Turmeric
ชื่อท้องถิ่น           ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ตายอ, สะยอ, หมิ้น
ลักษณะ :
ขมิ้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
รสและสรรพคุณทางยา :
เหง้าของขมิ้นมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด
การใช้ประโยชน์
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
สำหรับสาวๆ แล้วการใช้ขมิ้นทาผิวหน้าจะทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียดสวยชนิดที่หนุ่มมองได้ไม่วางตาเชียว
กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น
          เวลา 03.00 - 05.00 น. ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

          เวลา 05.00 - 07.00 น. ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิต + นมสด + น้ำผึ้ง + มะนาว หรือน้ำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆ อยู่เป็นล้านๆ เส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

          เวลา 07.00 - 09.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

          เวลา 09.00 - 11.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป ผอมเกินไปที่เกี่ยวกับม้าม ลดอาการของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

          เวลา 11.00 - 13.00 น. สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ มีหรือไม่มี ถ้ากินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลยเวลา 11.00 น.ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับ แล้วตับจะส่งมาที่ปิด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง

          เวลา 15.00 - 17.00 น. ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงือกออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

          กินเหลือเลยเวลาจากช่วงนี้ จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยอ่อนเพลีย และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น กินขมิ้นชันมากๆ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินปริมาณมาก
          กินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตรอยที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสน้ำ 1 แก้ว (ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
            - ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ ไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น ลดความชื้นของปอด
            - ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
            - ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
            - ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลลำไส้
            - ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ

          ขมิ้นชันยังช่วยดูแลเซลล์ต่างๆ ที่ฉีกขาดก็จะไปเชื่อมให้ และไปกวาดขยะ กวาดไขมันมากองไว้ ถ้าจะอุ้มขยะไปทิ้งโดยการถ่ายก็กินอาหารปกติ เช่น พืช ผัก ผลไม้ ที่มีกากใย หรือกินน้ำลูกสำรอง (พุงทลาย) เพื่ออุ้มไขมัน อุ้มแก๊สไปทิ้ง

          คนธาตุเบา แสดงว่ามีการระคายเคือง อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังบางอย่างที่ผนังลำไส้เป็นอาจิณ

          คนธาตุหนัก แสดงว่าปลายประสาทลำไส้ใหญ่เสื่อม อาจเกิดจากการกินยาถ่ายเป็นประจำ หรือดื่มน้ำน้อย ทั้งธาตุเบาและธาตุหนักไม่ดีทั้งคู่ ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่ามีปัญหาที่ลำไส้ และปลายประสาทลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หากปล่อยไว้วันข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ควรกินขมิ้นชันเป็นประจำ เพื่อค่อยๆ ปรับให้เข้าที่แล้ว จะกลับมาถ่ายเป็นปกติ





















ถั่วพู



ถั่วพลู





ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Psophocarpus tetragonolobus Linn.
วงศ์ :  ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ :  Winged Bean 
ลักษณะ : ถั่วพูเป็นพืชล้อลุก ลำต้นเลื้อยได้ ใบออกจากลำต้นแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบรูปร่างคล้ายไข่ป้อม ปลายและขอบใบแหลม ดอกเป็นดอกย่อยสีขาวอมม่วง ผลเป็นผักแบนยาวมี 4 ปีก ตามความยาวของฝัก ฝักยาวประมาณ 3- 4 นิ้ว ภายในมัเมล็ดกลมเรียบเป็นมัน สีขาว น้ำตาลดำ หรือเป็นจุด รากออกเป็นหัวมีปมอยู่ใต้ดินแต่ละปมมีขนาดใหญ่ ู 

ประโยชน์ : นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย 

คุณค่าทางอาหาร : ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม 

สรรพคุณทางยา: หัว ใช้บำรุงร่างกาย แก่อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
     ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้ม จะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุก ดื่มก่อนอาหาร ๓ เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เพิ่มกำลังวังชา 

ถั่วฝักยาว




ถั่วฟักยาว


ชื่อวิทยาศาสตร์    Vigna unguiculata   Hc
วงศ์                  LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ           Yard long Bean
ลักษณะ :
ถั่วฝักยาว จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่ว ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลที่สุดคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวเอเซียนิยมบริโภคมาก โดยเฉพาะชาวฮ่องกงและสิงคโปร์ นอกจากตลาดเอเซียแล้ว ตลาดต่างประเทศทางยุโรป ซึ่งมีคนเอเซียอพยพเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันตะวันตก ตลอดจนประเทศทางแถบตะวันออกกลางก็นับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะมีความต้องการสูง จึงนับได้ว่า
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะใช้ปรุงอาหาร บางชนิดใช้บริโภคสดในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋องและแช่แข็งด้วย
ถั่วฝักยาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและอินเดีย เป็นพืชตระกูลถั่งที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย การเลื้อยของเถา มีทิศทางการพันทวนเข็มนาฬิกา การปลูกโดยการทำค้างจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น
ถั่วฝักยาวนอกจากจะเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ระบบรากของพืชตระกูลถั่วจะมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่างเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด
ประโยชน์ :
ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
สรรพคุณทางยา:
ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
Tips
1. ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้รักษาอาการท้องอืดและแน่น เพราะกินมากเกินไป เรอเปรี้ยว
2. ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู นำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกิน สำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหาร ทำงานไม่ดี
3. ใช้เมล็ด และผักบุ้ง นำมาตุ๋นกับเนื้อไก่กิน รักษาอาการตกขาวของสตรี
4. ใช้เมล็ดหรือฝักสด นำมาต้มน้ำผสมกับเกลือใช้กินทุกวัน เพื่อเป็นยาบำรุงไต
ข้อห้ามใช้ : สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนั้น ไม่ควรจะนำเมล็ดมากิน








ข่า



"ข่า"




ชื่อวิทยาศาสตร์    Alpinia galanga Swartz
วงศ์                  ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ           (Kha), Galingale, Galanga
ชื่อท้องถิ่น          ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะ :
ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
สารสำคัญที่พบ :
เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol)การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol)
สารเคมีที่พบในข่า : acetoxychavicol acetate,monoterene ,terpineol, terpenen,cineole, camphor, linalool,eugenol
สรรพคุณทางยา :
1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น
3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
4. ใช้ไล่แมลงโดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้าคือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
ประโยชน์ในการประกอบอาหาร
ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด้

 




 




กระเทียม


กระเทียม

    
ชื่อวิทยาศาสตร์    Allium sativum Linn.
วงศ์                  Alliaceae

ชื่อท้องถิ่น          กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
ลักษณะ :
พืชล้มลุก สูง 40-80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) ซึ่งแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายกลีบ แต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ผลแห้ง แตกได้สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ากระเทียม กลีบเล็กพันธุ์จาก จังหวัดศีรษะเกษ มีสารสำคัญมากที่สุด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
สารเคมีในหัวกระเทียม คือน้ำมันหอมระเหย Essential oil โดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.6-1 ในน้ำมันหอมระเหย
นี้มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์หระกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญก็คือ "อัลลิซิน" นอกจากนี้ยังมี Sulfane dimethy dipropl-disulfide sllinase "อัลลิซิน"
เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายได้ในน้ำ ในแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้การร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย"อัลลิซิน"ได้รับความสนใจและแยกสกัดบากกว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ได้ทั้งคนปกติและคนไข้ที่มีโฆเลสเตอรอลสูง
รสและสรรพคุณทางยา :
รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง
ในตำรายาไทยให้ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสด คั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วยความร้อน
กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน
สรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้ :
          1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม 
          2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
          3. ลดความดันโลหิตสูง 
          4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล 
          5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
          6. ลดน้ำตาลในเลือด 
          7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
          8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
          9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
          10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ 
          11. รักษาโรคไอกรน
          12. แก้หืดและโรคหลอดลม 
          13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย 
          14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
          15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
          16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
          17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย 
          18. ต่อต้านเนื้องอก 
          19. กำจัดพิษตะกั่ว
          20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
          ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
คุณค่าทางอาหาร :
กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก
ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
วิธีใช้
ใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย allicin และ diallyl disulfide ช่วยต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostaglandin ตามธรรมชาติ allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม อากาศจะทำให้ เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อถูกความร้อน ดังนั้น กระเทียมเจียว กระเทียมดอง จะไม่ไห้ผลเป็นยา












วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

พริก, ประโยชน์ของการกินเผ็ด


กินเผ็ด ป้องกันโรคมีประโยชน์สารพัด





     พริก มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยชาวโปรตุเกส สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หรือ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 
                     ประโยชน์ของพริกมีหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มสารแห่ง ความสุข คือ เอ็นโดรฟิน บรรเทาอาการ เจ็บปวด บรรเทา อาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดปริมาณคอเรสเตอรอลจากงานวิจัยของญี่ปุ่น พบว่า พริกช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายและช่วยในการเผาผลาญ มีประโยชน์เรื่องการควบคุมน้ำหนัก ขณะเดียวกันยังช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่าย สำหรับผู้ป่วยหอบหืด พริกจะช่วยทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดกินพริกจะดี

           การกินพริก ยังช่วยลดปริมาณสารที่ทำให้แก่ คือ อินซูลิน มีรายงานว่า 30 นาทีหลังกินพริก อินซูลินจะไม่ขึ้นเลย พออินซูลินไม่ขึ้น ก็จะไม่ทำให้รู้สึกอยากหวาน นอกจากนี้วิตามินซีในพริก ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า พริกยังช่วยในการสลายลิ่มเลือดด้วย 

           นอกจากการบริโภคแล้ว พริกยังถูกนำมาทำเป็นเจล ใช้ทารักษาผิวหนังอักเสบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว เข่าอักเสบ เริม หรืองูสวัด 

           ส่วนที่หลายคนมีความเชื่อว่าการกินพริกมากๆ หรือ รับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น นพ.กฤษดา บอกว่าสารในพริกมีฤทธิ์เป็นกรดก็จริง แต่พริก ไม่ได้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร น่าจะมาจากการกินอาหารมัน ๆ มากกว่า เช่น ข้าวขาหมู กว่าจะย่อยต้องใช้เวลา 2-3 ชม. ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร 

           แต่การกินอาหารเผ็ดจัด อาจทำให้เกิดอาการ เหมือนคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะสารในพริกซึ่งเป็นกรด จะไปทำให้หลอดอาหารหดเกร็ง ทำให้รู้สึกจุกแน่นลิ้นปี่

           กรณีที่กินอาหารเผ็ดมากๆ วิธีแก้ คือ ต้องกินอาหารที่มันๆ เพราะสารแคปไซซิน จะละลายได้ดีในไขมัน แต่ละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย การดื่มน้ำเย็นจะไม่ช่วยทำให้หายเผ็ด ถ้าจะแก้เผ็ดต้องดื่มนม หรือ ไอศกรีม ทั้งนี้  ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ความมันจากกะทิมาดับเผ็ด เห็นได้จากการทำแกงเขียวหวาน หรือแกงต่าง ๆ ที่ใส่กะทิ 

           ข้อควรระวัง คือ ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารรสเผ็ดจัด จะยิ่งทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนเด็กและคนแก่ ที่สำลักง่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้ 





 


           สรุปว่า การกินอาหารเผ็ด ๆ มีแต่ข้อดี แทบจะไม่มีข้อเสีย แต่ก็ควรระวังพริกป่น พริกซอง ที่อาจมีสารอะฟลาทอกซิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/30522

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

คะน้า


คะน้า



ชื่อวิทยาศาสตร์    Brassica alboglabra
วงศ์                  Craciterae
ชื่อสามัญ            KALE
ลักษณะ :
ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุตั้งแต่หว่านจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูก ได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดิน แทบทุกชนิดที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ
ประโยชน์ :
คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก แต่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ท้องอืด เนื่องจากมีกอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า
คุณค่าทางอาหาร :
คะน้าเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง  ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง  ซึ่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ธาตุอาหารพืชของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริการายงานว่าในปริมาณ  100  กรัม  ผักคะน้ามีน้ำ  83%,  พลังงาน  53  แคลลอรี่,   โปรตีน  6.0  กรัม,   ไขมัน  0.8  กรัม,   คาร์โบไฮเดรท  9.0  กรัม,   แคลเซี่ยม  249  มิลลิกรัม,   ฟอสฟอรัส  93  มิลลิกรัม,   เหล็ก  2.7  มิลลิกรัม,   โซเดี่ยม  75  มิลลิกรัม,  โปแตสเซี่ยม  378  มิลลิกรัม,   วิตามิน  10,000  ไอ.ยู,   ไธอะมิน  0.16  มิลลิกรัม,  ไรโบฟลาริน  0.26  มิลลิกรัม,   ไนอะซีน  2.1  มิลลิกรัม  และกรดแอสคอบิค  186  กรัม
สรรพคุณ :
ผักคะน้ายังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ







Amezon

comment