แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหารกับเรื่องสุขภาพและความสวยความงาม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหารกับเรื่องสุขภาพและความสวยความงาม แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทานมะเขือเทศสดดีกว่า จริงหรือ?



     ไลโคปีน (Lycopene)เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด พบไลโคปีนได้ใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้นพบไลโคปีนในปริมาณตั้งแต่ 0.9 –9.30 กรัม ใน 100 กรัมของมะเขือเทศสด

ไลโคปีนเป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคปีนในการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ (colon) ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม ปากเป็นต้น

     ควรรับประทานมะเขือเทศสดหรือมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงอาหารแล้ว
ความเชื่อที่ว่าของสดดีกว่าของที่ปรุงแล้ว ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ในกรณีของมะเขือเทศเป็นหนึ่งในข้อยกเว้น มะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความร้อนและกระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคปีนเปลี่ยนรูปแบบ (จากไลโคปีนชนิด “ออลทรานส์”(all-trans-isomers)เป็นชนิด “ซิส” (cis -isomers)) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น

     
    มะเขือเทศสดและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ชนิดใดให้ไลโคปีนสูงกว่ากัน
โดยทั่วไป ปริมาณไลโคปีนในผลไม้และมะเขือเทศสดจะไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศสดไปผ่านกระบวนการผลิตให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดต่างๆ พบว่าปริมาณไลโคปีนสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้น ดังนั้น อาหารอิตาเลียน พวกพิซซ่า สปาเก็ตตี้ ที่มีการแต่งรสด้วยซอส หรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste) ที่ผลิตจากมะเขือเทศ จึงเป็นแหล่งให้ไลโคปีนที่ดี



ตาราง แสดงปริมาณไลโคปีนในมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ 





ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ                                                 


ปริมาณไลโคปีน


(มล / 100 ก)
....................................



มะเขือเทศสด

มะเขือเทศปรุงสุก

ซอสมะเขือเทศ(Tomato sauce)

ซุปมะเขือเทศเข้มข้น

(Tomato soup (condensed))

น้ำมะเขือเทศ

ซอสพิซซ่า (Pizza sauce)

ซอสมะเขือเทศ

(Tomato ketchup)

มะเขือเทศผง

ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น       

 (Tomato paste)

...................



0.88-4.20

3.70

6.20

7.99



5.00-11.60

12.71

9.90-13.44



112.63-126.49
 

5.40-150.0





http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
thai/knowledgeinfo.php?id=1



วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

8 สุดยอดอาหารเพื่อหัวใจแข็งแรง



     โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน

     ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น เราจึงมีอาหารที่ดีต่อหัวใจมาแนะนำค่ะ



1. ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากมาย ที่มีประโยชน์โดยตรงในการช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดความดันโลหิต 



2. ใยอาหาร การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้นอย่างน้อยวันละ 25-35 กรัม เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ถั่ว และผักต่างๆ 



3. น้ำผลไม้คั้นสด เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำส้มคั้นสดสักแก้วสิคะ เพราะน้ำส้มคั้นอุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่ช่วยลดระดับฮอโมซิสเตอิน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบว่าสัมพันธ์กับอาการหัวใจวาย หรือลองน้ำองุ่นที่มีฟลาโวนอยด์และเรสเวอราทรอล (resveratrol) สารสำคัญจากเปลือกองุ่น ที่ช่วยยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงจับเป็นก้อน ซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน 



4. ผักตระกูลกะหล่ำ แต่ละมื้อกินผักให้มากขึ้น โดยเน้นผักประเภทกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ และกะหล่ำปลี เพราะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ดีต่อหัวใจ 



5. ถั่วเปลือกแข็ง การศึกษาจากหลายแห่งรายงานว่าการรับประทานถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ พิสตาชิโอ วอลนัท ฮาเซลนัท สัปดาห์ละมากกว่า 150 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ หรือโรคหัวใจวายได้ 1 ใน 3 เท่า 



6. ถั่วเหลือง การรับประทานถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ 



7. กระเทียม การรับประทานกระเทียมช่วยยับยั้งการจับตัวกันของเม็ดเลือดแดงที่จะไปอุดตันหลอดเลือดแดง กินวันละ 5-10 กลีบ ต่อวัน 



8. กล้วย อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิตได้ ฉะนั้น นอกจากกล้วยแล้ว มันเทศหรือมันฝรั่งอบ มะเขือเทศ (ซอส) โยเกิร์ต และแคนตาลูป 

     นอกจากรับประทานอาหารสุขภาพเหล่านี้แล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เครียดก็ช่วยป้องกันหัวใจป่วยได้ค่ะ 



credit: นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 290



วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 อาหารที่แพทย์จีนเจือน



  ท่านอาจารย์นายแพทย์ภาสกิจ(วิทวัส) วัณนาวิบูล อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีน แนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีนว่า อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรกินมากเกิน...





 


   1. ไข่เยี่ยวม้า ไข่เยี่ยวม้ามี ตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง และอาจได้รับพิษตะกั่ว เช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯล






 

    2. ปาท่องโก๋ : กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไป นอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย






 

    3. เนื้อย่าง กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง




 

    4. ผักดอง ผักดอง และของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกิน หรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูง และโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง


 

    5. ตับหมู : ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกิน หรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง(อัมพฤกษ์-อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น


 

    6. ผักขม ปวยเล้ง : ผักขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า... มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกิน หรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม หรือสังกะสีได้






 

    7. บะหมี่สำเร็จรูป : บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกันบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่สำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหาร และการสะสมสารพิษได้




 

    8. เมล็ดทานตะวัน เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทว่า... การกินมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ ภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯ เพิ่มขึ้น






 

    9. เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ : กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย... ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย


 

    10. ผงชูรส : คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา... การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกินทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูง อาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์






ที่มา ... นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ --> หมอชาวบ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เผย5เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ



 5 เคล็ดลับ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

     ปัจจุบัน การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆกัน ทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารแลพไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออก ซิแดนท์ เช่น ไลโคฟีนในมะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ในแครอท และคลอโรฟิลด์ในผักใบเขียว สารออกซิแดนท์เป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและการเกิดโรคภัยต่างๆ ความนิยมบริโภคถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนจากพืชซึ่งปลอดภัยมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ และการบริโภคน้ำมันพืชมีกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว ทานตะวัน และน้ำมันงา โดยเฉพาะการได้รับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันน้ำมันพืชเข้ามามีบทบาทต่อผู้รักสุขภาพอย่างขาดไม่ได้

     การ รู้จักเลือกรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องสุขภาพเท่านั้น หากยังเอื้อต่อความสวยความงามอีกด้วย ความจริงการเลือกอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ สุขภาพดีได้ เพราะในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการของร่างกายและลักษณะการ ดำเนินชีวิต วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกี่ยวข้องกับช่วงอายุทั้ง 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดที่คุณจะลองทำตาม







     วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาและเติบโตเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน และเป็นวัยที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมากเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งเผาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานจำพวกเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ รวมถึงข้าวและแป้งมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยผักผลไม้เป็นอันดับสอง ส่วนนมและอาหารทดแทนแคลเซียมต่างๆ เช่น เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตามมาเป็นอันดับสาม และให้ความสำคัญของไขมันเป็นอันดับสุดท้าย ปลาเป็นอาหารสมองที่ช่วยรักษาผนังเซลล์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ผักสีเขียวอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงสายตา สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักผลไม้สีเหลืองอย่างกล้วยหอมก็ถือเป็นผลไม้คลายเครียดชนิดหนึ่ง







     วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 อายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มตกใจกลัว แต่การรู้จักเลือกรับประทานจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเดาอายุคุณจากรูปร่าง หน้าตาได้เลย ในช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ความต้องการพลังงานยังคงอยู่ เพราะเป็นช่วงชีวิตของการทำงาน แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอลที่จะส่งผลกระทบ กับรูปร่างหน้าตาภายนอกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตด้วย เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น เนยแข็ง กะทิ เนยเทียม เป็นต้น จะสร้างปัญหาให้หลอดเลือดและหัวใจ แต่คุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอล เช่น ปลาทะเล ช่วยลดความดันโลหิต พวกถั่วเมล็ดแห้งอย่างถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และมีโปรตีนสูงเพื่อให้พลังงานแทนสัตว์ใหญ่ได้อีก อาหารจำพวกข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี อย่างข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท มีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนานและส่งผลดีต่อระบบลำไส้







     วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 วัยทองถูกเรียกแทนวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายวัยนี้ก็จะเริ่มมีโรคต่างๆที่ไม่เคยออกอาการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น “วิถีทางธรรมชาติ” แต่ ทั้งนี้การชะลอวัยหรือป้องกันโรคต่างๆที่มากับวัยไม่ได้ยุ่งยากเกินกว่าที่ เราจะทำได้ สำหรับช่วงวัยนี้ความต้องการพลังงานจะลดลง แต่ความต้องการแคลเซียมและวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้รับจากผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีจากอาหารที่หารับประทานได้ง่าย เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ แคนตาลูป ส่วนอาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง อัลมอนด์ นอกจากนี้ควรรับประทานเต้าหู้ โปรตีนไขมันต่ำ ซึ่งให้แคลเซียมมากกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่น แต่ไม่ควรลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวเร่งความแก่ให้เร็วขึ้น เช่น อาหารไขมันสูงประเภททอดกรอบหรือผัดน้ำมันมากๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย







     วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 50 เป็นต้นไปนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวัยนี้คุณควรเข้าใจการทำงานของร่างกายที่มี ประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกกระหายน้ำเท่าไหร่ แต่ควรดื่มน้ำให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงและพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสี เน้นอาหารจำพวกปลาเพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ที่สำคัญคือเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย

     วัย นี้จะพบปัญหากระดูกเปราะ กระดูกพรุนอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารแคลเซียมสูงอยู่ในนม โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง หรือแม้แต่ปลาตัวเล็กตัวน้อย พวกผักใบเขียวก็มี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบรอกโคลี จะช่วยลดปัญหาเรื่องกระดูกให้รุนแรงน้อยลง การแก้ไขภาวะขาดน้ำอาจให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย น้ำใบเตย นอกเหนือจากน้ำเปล่า เพราะช่วยบรรเทาโรคบางอย่างและให้ประโยชน์กว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มี กาเฟอีน

     สิ่ง สำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดควรดูแลเรื่องการกินอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองมีโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแล้ว เท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มาก ทำบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย จะช่วยให้สุขภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านระบบการไหลเวียนเลือด ควบคุมน้ำหนักตัว และลดความเครียดของร่างกายได้

ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

Amezon

comment