สวัสดีค่ะ วันนี้สาวนุ้ยไม่มีสูตรทำกับกงกับข้าวอะไรมาอัพนะคะ แต่พอดีสาวนุ้ยไปอ่านเจอ มาตราชั้ง ตวง วัด ของไทยในสมัยอดีต เห็นว่ามันแปลกและก็น่าสนใจดี และสาวนุ้ยไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ้ำ ก็เลยแอบจิ๊กมาฝากเพื่อนๆกันซะหน่อย ตอนแรกอ่านเจอก็นึกว่าเค้าโพสต์อำๆกันเล่นนะ ก็เห็นมีไข่หงไข่เหา มันวัดอะไรกันหว่าถึงได้ออกมาเป็นเส้นผมเป็นไข่เหาเนี่ยยย คนไทยเรานี่ก็ช่างเปรียบเปรยกันจริงๆนะคะ อ่านแล้วก็แอบอมยิ้มกันไปในความช่างคิดของบรรพบุรุษของเราคะ สาวนุ้ยคิดดูอีกทีในเมื่อเอามาตราต่างๆมาให้อ่าน ให้รู้จักกันแล้วก็เลยเอาประวัติความเป็นมาของการใช้เครื่องชั่งตวงวัดมาโพสต์ซะทีเดียวเลย จะได้รู้ว่า ไปไงมาไงถึงได้กลายมาเป็น เมตร เป็น กิโลกรัม อย่างทุกวันนี้คะ...รู้สึกว่าวันนี้สาวนุ้ยจะวิชาการนะเนี่ย อิอิ ยังไงก็ลองไปอ่านกันดูนะคะ
มาตราวัดระยะ
8 ปรมาณู เป็น 1 อณู
5 อณู เป็น 1 ธุลี
8 ธุลี เป็น 1 เส้นผม
8 เส้นผม เป็น 1 ไข่เหา
8 ไข่เหา เป็น 1 ตัวเหา
8 ตัวเหา เป็น 1 เมล็ดข้าว
8 เมล็ดข้าว เป็น 1 นิ้ว
12 นิ้ว เป็น 1 คืบ
2 คืบ เป็น 1 ศอก
4 ศอก เป็น 1 วา
20 วา เป็น 1 เส้น
400 เส้น เป็น 1 โยชน์
8 ธุลี เป็น 1 เส้นผม
8 เส้นผม เป็น 1 ไข่เหา
8 ไข่เหา เป็น 1 ตัวเหา
8 ตัวเหา เป็น 1 เมล็ดข้าว
8 เมล็ดข้าว เป็น 1 นิ้ว
12 นิ้ว เป็น 1 คืบ
2 คืบ เป็น 1 ศอก
4 ศอก เป็น 1 วา
20 วา เป็น 1 เส้น
400 เส้น เป็น 1 โยชน์
มาตราตวง
150 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 ใจมือ (หยิบมือ)
4 ใจมือ เป็น 1 กำมือ
8 กำมือ (บางตำราก็ว่า 4 กำมือ) เป็น 1 ฟายมือ (จังวอน)
2 ฟายมือ เป็น 1 แล่ง (กอบมือ)
2 แล่ง เป็น 1 ทะนาน
20 ทะนาน เป็น 1 ถัง (สัด)
50 ถัง เป็น 1 บั้น
2 บั้น เป็น 1 เกวียน
8 กำมือ (บางตำราก็ว่า 4 กำมือ) เป็น 1 ฟายมือ (จังวอน)
2 ฟายมือ เป็น 1 แล่ง (กอบมือ)
2 แล่ง เป็น 1 ทะนาน
20 ทะนาน เป็น 1 ถัง (สัด)
50 ถัง เป็น 1 บั้น
2 บั้น เป็น 1 เกวียน
มาตราชั่งน้ำหนัก
2 กล่อม(ฬส) เป็น 1 กุเล่า (อัฐ)
2 กุเล่า เป็น 1 ไพ
4 ไพ เป็น 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง
4 สลึง เป็น 1 บาท
4 บาท เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
20 ชั่ง เป็น 1 ตุล (ดุน, ดุล)
20 ตุล เป็น 1 ภารา
50 ชั่ง เป็น 1 หาบ
4 ไพ เป็น 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง
4 สลึง เป็น 1 บาท
4 บาท เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
20 ชั่ง เป็น 1 ตุล (ดุน, ดุล)
20 ตุล เป็น 1 ภารา
50 ชั่ง เป็น 1 หาบ
www.bansuanporpeang.com
ประวัติความเป็นมาการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด
ประเทศไทยมีการใช้เครื่องชั่งตวงวัดมาเป็นเวลาอันยาวนาน แต่มิได้มีการจัดระเบียบให้เป็นแบบมาตรฐานเดียวกัน โดยที่...
ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๐
ประเทศไทยรู้จักใช้วิธีชั่งตวงวัดกันแพร่หลายมาแต่โบราณกาล วิธีที่นิยมใช้กันมากได้แก่ วิธีของไทย, ของจีน, และวิธีของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ทำให้ขัดขวางความเจริญในการค้าขาย
พ.ศ. ๒๔๔๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้มีพระราชปรารภที่จะวางระเบียบการชั่งตวงวัดให้เป็นหลักฐาน จึงตกเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรพาณิชย์การในการวางระเบียบ ในเรื่องนี้ ซึ่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้คิดที่จะใช้วิธีมาตราเมตริก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
พ.ศ. ๒๔๔๔
เจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รวบรวมเอาเฉพาะการตวงขึ้นมาพิจารณา เพราะเหตุว่าประเทศสยามมีสินค้าข้าวที่จะต้องตวงซื้อขายเป็นสินค้าสำคัญ จึงได้ร่างพระราชบัญญัติอัตราการตวงขึ้นมา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการชั่งและการวัด
พ.ศ. ๒๔๔๕
.
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าด้วย เจ้าพระยาอภัยราชา (Mr. Rolin Jacmingnes) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน กับนายชเลสเซอร์ที่ปรึกษากฎหมาย ได้ร่าง "พระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง ร.ศ. ๑๑๙ ขึ้นใหม่ โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก
พ.ศ. ๒๔๔๘
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ้ง เพื่อพิจารณาว่าควรใช้เครื่องชั่งตวงวัดวิธีใดจึงจะเหมาะ และคณะกรรมการได้ถวายรายงานกราบบังคมทูลว่า ควรใช้วิธีเมตริกเป็นแบบเดียวกัน
พ.ศ. ๒๔๕๒
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เจ้าพระยาวงศานุประพันธิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลว่า เห็นควรที่ประเทศสยามจะเข้าร่วมในอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention) และกระทรวงเกษตรธิการจึงเริ่มทำการติตต่อกับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก
พ.ศ. ๒๔๕๔
รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสนาบดีกระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ประชุมปรึกษากัน ทำความเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมทูลเกล้าฯ ซึ่งถวายรายงานความเห็นว่าควรรับเอาแบบวิธีเมตริกมาใช้
พ.ศ. ๒๔๕๕
ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงที่จะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกไปยัง สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นสมาชิกในปีนั้น
พ.ศ. ๒๔๖๖
รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา " พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ " ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ และในปีถัดมาได้มีการออกกฎเสนาบดีฉบับแรกขึ้นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
พ.ศ. ๒๕๓๘
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด
พ.ศ. ๒๕๔๒
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา " พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ " ขึ้น และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา
www.cbwmthai.org
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น