แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นานา สาระ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นานา สาระ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

10 อันดับขนมหวานชื่อก้องโลก





 ทีรามิสุ ( Tiramisu )






1. ทีรามิสุ ( Tiramisu )
เค้กชื่อดังของอิตาลีทำขึ้นจากเล ดี้ฟิงเกอร์ราดเอสเปรสโซ่ สอดไส้ด้วยมาสคาร์โปนชีสและซาบากลิออเน ลือกันว่าทีรามิสุมีจุดกำเนิดมาจากการที่แม่บ้านของทหารในสงครามโลกครั้งที่ สองทำเค้กให้สามีรับประทาน โดยเชื่อว่าส่วนผสมของคาเฟอีนกับน้ำตาลจะช่วยให้พวกเขามีพลังและแคล้วคลาด จากอันตราย ช่างโรแมนติคเสียนี่กะไร เหมาะจะเป็นของหวานรับวันวาเลนไทน์โดยแท้





2. บาคลาวา ( Baklava)ประวัติที่แท้จริงของบาคลาวายากที่จะระบุ ให้แน่ชัด เพราะว่ากันว่ามันมีต้นกำเนิดจาก จักรวรรดิอ็อตโตมัน ดินแดนเมโสโปเตเมีย และอาหรับ โดยขนมหวานชนิดนี้ทำขึ้นจากการนำแป้งฟิลโลมาสอดไส้ไว้ด้วยถั่ว น้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม หากต้องการลิ้มลองรสชาติ แบบต้นตำรับก็ต้องไปรับประทานถึงถิ่นที่อ้างว่าเป็น จุดกำเนิด ทั้งกรุงอิสตันบูล กรุงเอเธนส์ และกรุงเบรุต แม้แต่ละที่อาจจะมีรสแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ยังการันตีได้ถึงความเอร็ดอร่อย





3. ไดฟุกุ ( Daifuku )ขนมเจลลาตินทรงกลมจากแดนอาทิตย์อุทัยมักสอดไส้ไว้ด้วยถั่วแดงหวาน (และบางครั้งก็อาจเป็นแยมสตอเบอร์รี่ โรยด้วยแป้งบางๆ โดยสามารถหาซื้อมารับประทานได้ทั้งจากกรุงโตเกียว โอซาก้า เกียวโต นากาโนะ และทุกแห่งในญี่ปุ่น





4. กุหลับ จามาน ( Gulab Jamun)ก้อนขนมปังหวานที่คงไม่ถูกปากฝรั่งตาน้ำ ข้าว แต่คอนเฟิร์มว่าอยู่ในรายชื่อขนมอันดับต้นๆ ของชาวอินเดีย และเมื่อมีคนกว่าพันล้านคนชื่นชอบ ก็ยากจะปฏิเสธได้ว่ามันไม่อร่อย ปกติแล้วมักทำขึ้นโดยใช้ครีมสองชั้นและราดด้วยน้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นที่นิยมในอินเดีย ปากีสถาน เนปา และประเทศในแถบเอเชียใต้





5. ฮาโล ฮาโล ( Halo Halo)จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆ ไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา





6. แบล็คฟอเรสท์เค้ก (BlackForestCake)
ด้วยความมีชื่อเสียงในเรื่องชนิทเซล เบียร์ และเค้กรสชาติอร่อยมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เยอรมนีจะกลายเป็นสถานที่ดื่มกินยอดนิยมของเรา โดยเจ้าช็อกโกแลตเค้กที่ทับซ้อนหลายชั้นด้วยครีม เชอร์รี่ และบรั่นดีผลไม้นี้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นยุค 1900 ทางตอนใต้ของเยอรมนี (ภายหลังได้รับการปรุงแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยฝีมือของช่างทำเค้กในกรุง เบอร์ลิน) และทุกวันนี้เป็นทื่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า นี่ก็เป็นหนึ่งในของโปรดของเราเช่นกัน






7. ข้าวเหนียวมะม่วง ( Mango with Sticky Rice)
ขนมหวานแบบไทยๆ ที่นำมะม่วงสุกเหลืองอร่ามมาทานคู่กับข้าวเหนียวมูนราดด้วยน้ำกะทิ ฟังแล้วชวนน้ำลายสอเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับความนิยมจากทั้งชาวสยามและชาวต่างชาติ ทั้งยังสามารถหาลิ้มลองได้ทั้งที่โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และร้านอาหารตามท้องถนนทั่วไป





8. แอปเปิ้ล พาย ( Apple Pie )
เช่นเคย แม้จะฟังดูเป็นอเมริกันจ๋า แต่จริงๆ แล้วมีต้นกำเนิดจากเมืองผู้ดี โดยได้รับการคิดค้นขึ้นเมื่อปี 1381 และปกติจะอบด้วยแป้งสองชั้น ในสมัยก่อน ตอนที่ชาวอังกฤษอพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา พวกเขาได้นำเมล็ดแอปเปิ้ลมาปลูกด้วย จึงทำให้มันมีความเกี่ยว พันกับวัฒนธรรมของชาวมะกัน แต่ไม่ว่าจะที่โรงแรมในลอนดอนหรือภัตตาคารในแอลเอ แอปเปิ้ลพายก็เป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาลูกค้าเหมือนกัน







9. นาไนโม บาร์ ( Nanaimo Bars)
แคนาดาขึ้นชื่อเรื่องขนมหวาน ? ได้ยินแล้วไม่ต่างกับการพูดว่ากรุงเทพขึ้นชื่อเรื่องทะเลยังไงยังงั้น แต่กระนั้น ขนมรสเลิศดังกล่าว มีที่มาจากเกาะแวนคูเวอร์ในเมืองนาไนโม รัฐบริติชโคลัมเบีย โดยได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือแม่บ้านท้องถิ่นซึ่งได้ส่งเจ้าขนมทรง จัตุรัสชิ้นนี้ไปประกวดในนิตยสารและคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ ปัจจุบัน เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในแถบอเมริกาเหนือ






10. แครมบรูเล่ ( Creme Brulee)
แม้ชื่อจะฟังดูแล้วฝรั่งเศสสุดๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากวิทยาลัยทรินิตี้ในเคมบริดจ์ได้อ้างว่าพวกเขาคือ ต้นตำรับผู้คิดค้น ขนมสูตรเด็ดนี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1600 อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีจุดกำเนิดจากอังกฤษ แต่เชื่อแน่ว่าคงไม่มีสถานที่ใด เหมาะแก่การทานคัสตาร์ดเย็นๆ โรยด้วยน้ำตาลไหม้ ได้เท่ากับใต้หอไอเฟลที่ประดับด้วยไฟสว่างไสวในยามค่ำคืนในกรุงปารีส




http://www.ezythaicooking.com

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

"กระเพาะปลา" มาจากไหน?



"กระเพาะปลา" มาจากไหน?





     เวลาที่เกิดหิวขึ้นมาตอนดึกๆ แต่ไม่อยากกินอะไรให้หนักท้องมากนัก "108 เคล็ดกิน" มักนึกถึงกระเพาะปลาร้อนๆ สักถ้วยกินให้อุ่นๆท้อง กินไปก็สงสัยไปว่าทำไมจึงเรียกว่า "กระเพาะปลา" ทั้ง ที่จริงๆแล้วมันคือถุงลมที่ช่วยในการดำน้ำของปลาต่างหาก ซึ่งกระเพาะปลาที่เรานำมากินกันนั้นก็มาจากปลาหลายชนิด ทั้งปลากุเลา ปลากะพง ปลาอินทรี ปลาไหลทะเล ฯลฯ ซึ่งราคาก็จะถูกแพงต่างกันไป ยิ่งเป็นปลาทะเลน้ำลึกก็จะยิ่งแพงมากขึ้น

     ชาวจีนรู้จักกินกระเพาะปลามานานกว่า 1,600 ปีแล้ว และยังใช้กระเพาะปลาเป็นเครื่องบรรณาการที่หัวเมืองแถบชายฝั่งทะเลจะต้องจัด ถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินจีนมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรถัง นอก จากนั้นตำรายาจีนยังถือว่ากระเพาะปลาเป็นยาชูกำลัง มีสรรพคุณในการเสริมหยิน บำรุงเซลล์และเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงและกระชับ เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้พลังงาน แก้อาการตกเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดลมไหลเวียนดี ทำให้มีพละกำลัง

เมนูกระเพาะปลาที่นิยมกันในบ้านเราก็เช่นกระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ยำกระเพาะปลา ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่ถูกปากนักกิน แต่บางครั้งก็ต้องเซ็งเมื่อบางร้านใช้หนังหมูมาหลอกว่าเป็นกระเพาะปลาเสีย นี่






ที่มา ... ผู้จัดการออนไลน์ 

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติมาตราชั่ง ตวง วัด ของไทย



     สวัสดีค่ะ วันนี้สาวนุ้ยไม่มีสูตรทำกับกงกับข้าวอะไรมาอัพนะคะ แต่พอดีสาวนุ้ยไปอ่านเจอ มาตราชั้ง ตวง วัด ของไทยในสมัยอดีต เห็นว่ามันแปลกและก็น่าสนใจดี และสาวนุ้ยไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ้ำ ก็เลยแอบจิ๊กมาฝากเพื่อนๆกันซะหน่อย ตอนแรกอ่านเจอก็นึกว่าเค้าโพสต์อำๆกันเล่นนะ ก็เห็นมีไข่หงไข่เหา มันวัดอะไรกันหว่าถึงได้ออกมาเป็นเส้นผมเป็นไข่เหาเนี่ยยย คนไทยเรานี่ก็ช่างเปรียบเปรยกันจริงๆนะคะ อ่านแล้วก็แอบอมยิ้มกันไปในความช่างคิดของบรรพบุรุษของเราคะ สาวนุ้ยคิดดูอีกทีในเมื่อเอามาตราต่างๆมาให้อ่าน ให้รู้จักกันแล้วก็เลยเอาประวัติความเป็นมาของการใช้เครื่องชั่งตวงวัดมาโพสต์ซะทีเดียวเลย จะได้รู้ว่า ไปไงมาไงถึงได้กลายมาเป็น เมตร เป็น กิโลกรัม อย่างทุกวันนี้คะ...รู้สึกว่าวันนี้สาวนุ้ยจะวิชาการนะเนี่ย อิอิ ยังไงก็ลองไปอ่านกันดูนะคะ


มาตราวัดระยะ

8 ปรมาณู เป็น 1 อณู
5 อณู เป็น 1 ธุลี
8 ธุลี เป็น 1 เส้นผม
8 เส้นผม เป็น 1 ไข่เหา
8 ไข่เหา เป็น 1 ตัวเหา
8 ตัวเหา เป็น 1 เมล็ดข้าว
8 เมล็ดข้าว เป็น 1 นิ้ว
12 นิ้ว เป็น 1 คืบ
2 คืบ เป็น 1 ศอก
4 ศอก เป็น 1 วา
20 วา เป็น 1 เส้น
400 เส้น เป็น 1 โยชน์



มาตราตวง

150 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 ใจมือ (หยิบมือ)
4 ใจมือ เป็น 1 กำมือ
8 กำมือ (บางตำราก็ว่า 4 กำมือ) เป็น 1 ฟายมือ (จังวอน)
2 ฟายมือ เป็น 1 แล่ง (กอบมือ)
2 แล่ง เป็น 1 ทะนาน
20 ทะนาน เป็น 1 ถัง (สัด)
50 ถัง เป็น 1 บั้น
2 บั้น เป็น 1 เกวียน


มาตราชั่งน้ำหนัก


2 กล่อม(ฬส) เป็น 1 กุเล่า (อัฐ)
2 กุเล่า เป็น 1 ไพ
4 ไพ เป็น 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง
4 สลึง เป็น 1 บาท
4 บาท เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
20 ชั่ง เป็น 1 ตุล (ดุน, ดุล)
20 ตุล เป็น 1 ภารา
50 ชั่ง เป็น 1 หาบ


                                                                                                                                                                     www.bansuanporpeang.com





ประวัติความเป็นมาการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด

    ประเทศไทยมีการใช้เครื่องชั่งตวงวัดมาเป็นเวลาอันยาวนาน แต่มิได้มีการจัดระเบียบให้เป็นแบบมาตรฐานเดียวกัน โดยที่...



ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๐

ประเทศไทยรู้จักใช้วิธีชั่งตวงวัดกันแพร่หลายมาแต่โบราณกาล วิธีที่นิยมใช้กันมากได้แก่ วิธีของไทย, ของจีน, และวิธีของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ทำให้ขัดขวางความเจริญในการค้าขาย

พ.ศ. ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้มีพระราชปรารภที่จะวางระเบียบการชั่งตวงวัดให้เป็นหลักฐาน จึงตกเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรพาณิชย์การในการวางระเบียบ ในเรื่องนี้ ซึ่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้คิดที่จะใช้วิธีมาตราเมตริก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ


พ.ศ. ๒๔๔๔

เจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รวบรวมเอาเฉพาะการตวงขึ้นมาพิจารณา เพราะเหตุว่าประเทศสยามมีสินค้าข้าวที่จะต้องตวงซื้อขายเป็นสินค้าสำคัญ จึงได้ร่างพระราชบัญญัติอัตราการตวงขึ้นมา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการชั่งและการวัด


พ.ศ. ๒๔๔๕

.
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าด้วย เจ้าพระยาอภัยราชา (Mr. Rolin Jacmingnes) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน กับนายชเลสเซอร์ที่ปรึกษากฎหมาย ได้ร่าง "พระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง ร.ศ. ๑๑๙ ขึ้นใหม่ โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก


พ.ศ. ๒๔๔๘

รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ้ง เพื่อพิจารณาว่าควรใช้เครื่องชั่งตวงวัดวิธีใดจึงจะเหมาะ และคณะกรรมการได้ถวายรายงานกราบบังคมทูลว่า ควรใช้วิธีเมตริกเป็นแบบเดียวกัน


พ.ศ. ๒๔๕๒

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เจ้าพระยาวงศานุประพันธิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลว่า เห็นควรที่ประเทศสยามจะเข้าร่วมในอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention) และกระทรวงเกษตรธิการจึงเริ่มทำการติตต่อกับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก


พ.ศ. ๒๔๕๔

รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสนาบดีกระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ประชุมปรึกษากัน ทำความเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมทูลเกล้าฯ ซึ่งถวายรายงานความเห็นว่าควรรับเอาแบบวิธีเมตริกมาใช้


พ.ศ. ๒๔๕๕

ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงที่จะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกไปยัง สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นสมาชิกในปีนั้น


พ.ศ. ๒๔๖๖

รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา " พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ " ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ และในปีถัดมาได้มีการออกกฎเสนาบดีฉบับแรกขึ้นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว


พ.ศ. ๒๕๓๘

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด


พ.ศ. ๒๕๔๒

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา " พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ " ขึ้น และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา 







www.cbwmthai.org

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาตราชั่ง ตวง วัด



 มาตราส่วนสำหรับแป้ง

1 ถ้วย แป้งตราห่าน 110 กรัม
1 ถ้วย แป้งตราว่าว 95 กรัม
1 ถ้วย แป้งตราบัวแดง 90 กรัม
1 ถ้วย แป้งตราพัดโบก 90 กรัม 
1 ถ้วย แป้งข้าวโพด 100 กรัม


จำพวกน้ำตาล

1 ถ้วย น้ำตาลทราย 185 กรัม
1 ถ้วย น้ำตาลทรายแดง 180 กรัม
1 ถ้วย น้ำตาลไอซิ่ง 100 กรัม
1 ถ้วย น้ำผึ้ง 300 กรัม 


จำพวกไขมัน

1 ถ้วย เนยสด 200 กรัม
1 ถ้วย มาการีน 200 กรัม
1 ถ้วย เนยขาว 185 กรัม
1 ถ้วย พีนัทบัตเตอร์ 240 กรัม
1 ถ้วย เพสตรี้มาการีน 200 กรัม
1 ถ้วย น้ำมันพืช 200 กรัม 


จำพวกไข่

1 ฟอง ไข่ไก่ขนาดกลาง 50 กรัม
1 ฟอง ไข่แดง 17 กรัม
1 ฟอง ไข่ขาว 33 กรัม 


จำพวกนมและผลิตภัณฑ์นม

1 ถ้วย นมข้นจืด 240 กรัม
1 ถ้วย นมผงขาดมันเนย 120 กรัม
1 ถ้วย ซีสเช็ดดา 100 กรัม 


จำพวกสารขึ้นฟู

1 ช้อนโต๊ะ ยีสต์แห้ง 7 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ โซดาไบคาร์บอเนต 10 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ผงฟู 8 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ครีมออฟทาร์ทาร์ 7 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ แอมโมเนีย 10 กรัม 


จำพวกผลไม้

1 ถ้วย ลูกเกด 140 กรัม
1 ถ้วย ผลไม้แช่อิ่มสับละเอียด 150 กรัม
1 ถ้วย เชอรี่แช่อิ่ม 180 กรัม
1 ถ้วย สับปะรดกวน 280 กรัม
1 ถ้วย สับปะรดกวนสับละเอียด 180 กรัม
1 ถ้วย แยมสตรอเบอรี่ 260 กรัม
1 ถ้วย มาร์มาเลด (แยมผิวส้ม) 260 กรัม
1 ถ้วย กล้วยหอมบด 200 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 10 กรัม 
1 ถ้วย มะพร้าวขูดอบแห้ง 60 กรัม
1 ถ้วย มะพร้าวสดขูดฝอย 100 กรัม


จำพวกถั่วต่างๆ

1 ถ้วย มะม่วงหิมพานต์สับละเอียด 115 กรัม
1 ถ้วย อัลมอนด์สับละเอียด 115 กรัม
1 ถ้วย อัลมอนด์หั่นเป็นชิ้นบางๆ 100 กรัม 
1 ถ้วย ถั่วทองนึ่งบด 150 กรัม


จำพวกผลิตภัณฑ์โกโก้

1 ถ้วย ผงโกโก้ 65 กรัม
1 ถ้วย ช็อคโกแลตสำเร็จรูป 200 กรัม
1 ถ้วย ช็อคโกแลตสำหรับแต่งหน้า 120 กรัม 


จำพวกสารปรุงแต่งรส

1 ช้อนโต๊ะ วานิลา 10 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ กาแฟสำเร็จรูป 2 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ น้ำใบเตยคั้นข้นๆ 15 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 10 กรัม
1 ช้อนชา ผงอบเชย 1 กรัม
1 ช้อนชา พริกไทยป่น 2 กรัม 


จำพวกผัก

1 ถ้วย หอมหัวใหญ่สับละเอียด 90 กรัม
1 ถ้วย หอมหัวใหญ่สับหยาบๆ 110 กรัม
1 ถ้วย หอมแดงซอย 100 กรัม
1 ถ้วย แครอทหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ 110 กรัม
1 ถ้วย มันฝรั่งบด 200 กรัม
1 ถ้วย มันฝรั่งหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ 140 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ผิวมะนาวขูดฝอย 1 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ 5 กรัม
1 ถ้วย เผือกกวน 225 กรัม
1 ถ้วย เผือกดิบขูดเป็นเส้นๆ 180 กรัม


จำพวกอื่นๆ

1 ถ้วย น้ำ 225 กรัม
1 ถ้วย บรั่นดีรสเชอร์รี่ 230 กรัม
1 ถ้วย แฮมหั่นเป็นเส้นๆ 140 กรัม
1 ถ้วย หมูบด 220 กรัม
1 ถ้วย กุ้งสับละเอียด 220 กรัม
1 ถ้วย กุ้งแห้งบดละเอียด 60 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ เอ็มเพล็กซ์ 6 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ สารเสริมคุณภาพ 6 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ เอสพี 14 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ อีซี 25 เค 12 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ ยากันรา (โซเดียมโปรปิโอเนต) 6 กรัม

ตารางการเปรียบเทียบมาตราส่วน 

1 ช้อนชา = 1/3 ช้อนโต๊ะ
1 ช้อนชา = 5 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ช้อนโต๊ะ = 15 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ = 0.5 ออนซ์
2 ช้อนโต๊ะ = 1 / 8 ถ้วยตวง
4 ช้อนโต๊ะ = 1/ 4 ถ้วยตวง
12 ช้อนโต๊ะ = 3/ 4 ถ้วยตวง
16 ช้อนโต๊ะ = 1 ถ้วยตวง
1 ถ้วยตวง = 16 ช้อนโต๊ะ
1 ถ้วยตวง = 240 กรัม
1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์
1 ออนซ์ = 2 ช้อนโต๊ะ
1 ออนซ์ = 30 กรัม (เอาให้เป๊ะๆเลย 1 ออนซ์ = 28.3495 กรัม)
2 ออนซ์ = 1/4 ถ้วยตวง
8 ออนซ์ = 1 ถ้วยตวง = 226.796 กรัม
1 ไพนท์ = 32 ช้อนโต๊ะ
1 ไพนท์ = 480 กรัม
1 ไพนท์ = 2 ถ้วยตวง
1 ไพนท์ = 16 ออนซ์
1 ควอท = 4 ถ้วย
1 แกลลอน = 4 ควอท
1 ปอนด์ = 16 ออนซ์ หรือ 453.59 กรัม
1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์

การเปลี่ยนอุณหภูมิ : สูตรการคำนวณ

จาก ฟาเรนไฮต์ เป็น เซลเซียส = (F – 32) x 5/9
จาก เซลเซียส เป็น ฟาเรนไฮต์ = (C x 9/5) + 32

200 F = 95 C
212 F = 100 C
225 F = 110 C
240 F = 115 C
250 F = 120 C
275 F = 135 C
300 F = 150 C
320 F = 160 C
325 F = 165 C
350 F = 175 C
375 F = 190 C
400 F = 205 C
425 F = 220 C
450 F = 230 C



วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทานมะเขือเทศสดดีกว่า จริงหรือ?



     ไลโคปีน (Lycopene)เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด พบไลโคปีนได้ใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้นพบไลโคปีนในปริมาณตั้งแต่ 0.9 –9.30 กรัม ใน 100 กรัมของมะเขือเทศสด

ไลโคปีนเป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคปีนในการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ (colon) ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม ปากเป็นต้น

     ควรรับประทานมะเขือเทศสดหรือมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงอาหารแล้ว
ความเชื่อที่ว่าของสดดีกว่าของที่ปรุงแล้ว ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ในกรณีของมะเขือเทศเป็นหนึ่งในข้อยกเว้น มะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความร้อนและกระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคปีนเปลี่ยนรูปแบบ (จากไลโคปีนชนิด “ออลทรานส์”(all-trans-isomers)เป็นชนิด “ซิส” (cis -isomers)) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น

     
    มะเขือเทศสดและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ชนิดใดให้ไลโคปีนสูงกว่ากัน
โดยทั่วไป ปริมาณไลโคปีนในผลไม้และมะเขือเทศสดจะไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศสดไปผ่านกระบวนการผลิตให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดต่างๆ พบว่าปริมาณไลโคปีนสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้น ดังนั้น อาหารอิตาเลียน พวกพิซซ่า สปาเก็ตตี้ ที่มีการแต่งรสด้วยซอส หรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste) ที่ผลิตจากมะเขือเทศ จึงเป็นแหล่งให้ไลโคปีนที่ดี



ตาราง แสดงปริมาณไลโคปีนในมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ 





ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ                                                 


ปริมาณไลโคปีน


(มล / 100 ก)
....................................



มะเขือเทศสด

มะเขือเทศปรุงสุก

ซอสมะเขือเทศ(Tomato sauce)

ซุปมะเขือเทศเข้มข้น

(Tomato soup (condensed))

น้ำมะเขือเทศ

ซอสพิซซ่า (Pizza sauce)

ซอสมะเขือเทศ

(Tomato ketchup)

มะเขือเทศผง

ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น       

 (Tomato paste)

...................



0.88-4.20

3.70

6.20

7.99



5.00-11.60

12.71

9.90-13.44



112.63-126.49
 

5.40-150.0





http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
thai/knowledgeinfo.php?id=1



วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

8 สุดยอดอาหารเพื่อหัวใจแข็งแรง



     โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน

     ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น เราจึงมีอาหารที่ดีต่อหัวใจมาแนะนำค่ะ



1. ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากมาย ที่มีประโยชน์โดยตรงในการช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดความดันโลหิต 



2. ใยอาหาร การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้นอย่างน้อยวันละ 25-35 กรัม เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ถั่ว และผักต่างๆ 



3. น้ำผลไม้คั้นสด เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำส้มคั้นสดสักแก้วสิคะ เพราะน้ำส้มคั้นอุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่ช่วยลดระดับฮอโมซิสเตอิน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบว่าสัมพันธ์กับอาการหัวใจวาย หรือลองน้ำองุ่นที่มีฟลาโวนอยด์และเรสเวอราทรอล (resveratrol) สารสำคัญจากเปลือกองุ่น ที่ช่วยยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงจับเป็นก้อน ซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน 



4. ผักตระกูลกะหล่ำ แต่ละมื้อกินผักให้มากขึ้น โดยเน้นผักประเภทกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ และกะหล่ำปลี เพราะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ดีต่อหัวใจ 



5. ถั่วเปลือกแข็ง การศึกษาจากหลายแห่งรายงานว่าการรับประทานถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ พิสตาชิโอ วอลนัท ฮาเซลนัท สัปดาห์ละมากกว่า 150 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ หรือโรคหัวใจวายได้ 1 ใน 3 เท่า 



6. ถั่วเหลือง การรับประทานถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ 



7. กระเทียม การรับประทานกระเทียมช่วยยับยั้งการจับตัวกันของเม็ดเลือดแดงที่จะไปอุดตันหลอดเลือดแดง กินวันละ 5-10 กลีบ ต่อวัน 



8. กล้วย อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิตได้ ฉะนั้น นอกจากกล้วยแล้ว มันเทศหรือมันฝรั่งอบ มะเขือเทศ (ซอส) โยเกิร์ต และแคนตาลูป 

     นอกจากรับประทานอาหารสุขภาพเหล่านี้แล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เครียดก็ช่วยป้องกันหัวใจป่วยได้ค่ะ 



credit: นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 290



วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของเย็นตาโฟ




     เย็นตาโฟ เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ใส่ซอสสีแดงลงไป ทำให้น้ำก๋วยเตี๋ยวมีสีแดงอมชมพู มีรสชาติแปลกออกไปตามแต่ที่มาของซอส แต่ส่วนใหญ่แล้วทำจากเต้าหู้ยี้และซอสมะเขือเทศหรือซอสพริก และพริกป่น
     นอกจากนี้ยังใช้วัตถุดิบพิเศษกว่าก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ เช่น มีปลาหมึกแห้ง เลือดหมู แมงกะพรุน หรือบางเจ้าใช้เห็ดแทนแมงกะพรุน ปาท่องโก๋ชิ้นเล็ก ปลาหมึกกรอบ และผักนิยมใช้ ผักบุ้ง อาจจะใส่เกี๊ยวทอดกรอบ ปลาชิ้น ลูกชิ้นปลา ด้วยก็ได้
เต้าหู้แคะ

     ส่วนที่ขาดไม่ได้ในเย็นตาโฟคือ "เต้าหู้" เพราะเป็นต้นตอของอาหารชนิดนี้
     นพพร สุวรรณพานิช ผู้จัดทำพจนานุกรมหัวป่าก์และปลายจวัก ระบุว่า เย็นตาโฟ ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ยี่อ่องเต่าฝู่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า brewed bean curd
     ส่วนข้อมูลวิกิพีเดียระบุว่า เย็นตาโฟน่าจะมาจากภาษาจีนแคะ ว่า ย้องแท้วฟู้ Yong Tau Fu หรือ Yong Tau Foo ภาษาจีนกลางอ่านว่า เหนียงเต้าฟู่ Niang Dou Fu
     คำดังกล่าวหมายถึงเต้าหู้บ่มสอดไส้หมูสับ ลักษณะเดียวกับส่วนประกอบของก๋วยเตี๋ยวแคะ ซึ่งเป็นอาหารเลื่องชื่อของชาวจีนฮากกา หรือชาวจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง แต่เดิมมีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีน แต่ต่อมาอพยพลงมาทางใต้
     ชาวแคะที่อาศัยอยู่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ มีทั้งที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน และติมอร์ตะวันออก
     ชาวจีนที่อยู่เมืองไทยส่วนใหญ่ใช้ภาษาแต้จิ๋ว เมื่อเรียกอาหารชนิดนี้ตามแบบถนัดจึงออกเสียงว่า ยี่อ่องเต่าฝู่ หรือ เยี่ยงเต่าฮู ก่อนคนไทยเรียกตามมาอีกทีจนเพี้ยนมาเป็นเย็นตาโฟ

     เต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ "เต้าหู้แคะ" เป็นวัตถุดิบสำคัญของ "ก๋วยเตี๋ยวแคะ" อาหารพื้นบ้านโบราณชาวฮากกาที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีน ส่วนชาวฮากกาในมาเลเซียนิยมอาหารนี้เช่นกัน จนจดทะเบียนให้เต้าหู้แคะ หรือ ย้องแท้วฟู้ เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารของประเทศ

ก๋วยเตี๋ยวแคะ
     สำหรับเมนูก๋วยเตี๋ยวในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงที่สยามเปิดประเทศติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย ชาวจีนจึงนำก๋วยเตี๋ยวเข้ามากินกันในเรือ โดยต้มในน้ำซุป ใส่หมู ใส่ผักและเครื่องปรุงเพื่อความอร่อย ก่อนถ่ายทอดวัฒนธรรมการกินนี้มาถึงไทย โดยคนไทยนิยมกินอาหารรสเข้มข้นกว่า จึงปรับเครื่องปรุงและวัตถุดิบต่างๆ จนปัจจุบันมีก๋วยเตี๋ยวเป็นเมนูยอดนิยมนานาชนิด รวมถึงเย็นตาโฟด้วย





รู้ไปโม้ด nachart@yahoo.com





Amezon

comment