แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ชะพลู


ชะพลู



ชื่อวิทยาศาสตร์    Piper samentosum Roxb.
วงศ์                  PIPERACEAE
ชื่อสามัญ            Cha-plu
ชื่ออื่นๆ             "ผักปูนา","ผักพลูนก","พลูลิง","ปูลิง","ปูลิงนก","ผักแค","ผักปูลิง","ผักนางเลิด","ผักอีเลิด"
ลักษณะ :
   ชะพลูเป็นไม้ให้ใบสวย รูปร่างเหมือนหัวใจ ปลูกเป็นไม้ประดับก็ได้ ปลูกไว้กินก็ดี มีทั้งชะพลูแบบเป็นพุ่ม และชะพลูที่ทอดยอดเลื้อยสูงเหมือนใบชะพลูที่คุณยายใช้เคี้ยวหมากนั่นแหละ  เกิดได้ทั้งในที่แสงแดดเต็มวัน ทั้งแสงแดดครึ่งวัน และแม้แต่แสงแดดรำไร เช่น ใต้ร่มไม้ใบใหญ่อย่างต้นมะม่วงหรือชายคาบ้าน  ชอบดินร่วนซุย  น้ำชุ่มชื้น  แม้ดินแล้งน้ำแห้งก็อยู่ได้ เพียงแต่ใบจะแกรนเท่านั้น  ก้านใบนูนเป็นเส้น ยาวพ้นออกมาเป็นก้านใบไปในตัว  หน้าใบสีเขียวเข้ม  หลังใบสีเขียวหม่น  ดอกมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกเล็กๆ มีสีขาว
ต้นชะพลูมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ แบบทรงพุ่ม ต้นเตี้ย มีขนาดเล็ก และ แบบไม้เลื่อย
  • ใบ: มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อนๆ
  • ดอก: ออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่า
  • การดูแล: ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น
  • การขยายพันธุ์: วิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้
คุณค่าทางอาหาร
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน  รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ ในใบชะพลู
ประโยชน์ :
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือแคลเซียม  และวิตามินเอ ซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ  นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส  เหล็ก  เส้นใย  และสารคลอโรฟิล  ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ  แก้จุกเสียด    การกินใบชะพลูมากๆ ชนิดที่เรียกว่ากินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมากๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น  ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สรรพคุณทางยา :
  • ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
  • ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
  • ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก
ข้อควรระวัง :
อย่างไรก็ตาม ชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไป เพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะ เว้นระยะบ้าง เชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล






 



วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

กระชาย


กระชาย





ชื่อวิทยาศาสตร์    Boesenbergia rotunda  (Linn.) Mansf. ,Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr. ,Gastrochilus panduratusRidl.
วงศ์                  Zinggberaceae
ชื่อท้องถิ่น          กะแอน ระแอน(ภาคเหนือ)   ขิงทรา(มหาสารคาม)   ว่านพระอาทิตย์(กรุงเทพฯ)
ลักษณะ :
กระชายเป็นพืชล้มลุก  มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า  มีรากติดเป็นกระจุกเป็นที่สะสมอาหารเป็นรูปทรงกระบอก  ปลายเรียวแหลม  มีสีน้ำตาลอ่อน  เนื้อสีเหลืองอมแดง  มีกลิ่นหอม  คนไทยรู้จักกระชายในฐานะเครื่องปรุงอาหาร  ดับกลิ่นในอาหารจำพวกแกงต่างๆ  โดยใช้เป็นกระจำในครัวเรือน
สารสำคัญ :
น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 0.08% เช่น 1,5-Cineol  ,Boesenbergin A ,Camphor ,Camphene และ Thujene (ช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้กระเพาะและลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่ม Flavonoid และ chalcone ด้วย
รสและสรรพคุณทางยา :
รสเผ็ดเล็กน้อย ขมนิดหน่อย ใช้แก้ปวดมนในท้องไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อใช้บำรุงร่างกาย
สรรพคุณของสมุนไพรกระชายเท่าที่มีการบันทึกไว้ในตำรับแพทย์แผนไทยมีดังนี้  คือ
            1.  แก้ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  ปวดท้อง  ท้องร่วง  ปวดมวนในท้อง
            2.  แก้บิด
            3.  ขับระดู  ขับระดูขาว
            4.  บำรุงกำหนัด  แก้กามตายด้าน
            5.  บำรุงร่างกาย  แก้อ่อนเพลีย
            6.  แก้โรคในปาก
            7.  ขับปัสสาวะ
            8.  แก้โรคขาดประจำเดือน
            9.  แก้ลมแน่นหน้าอก  แก้หัวใจสั่น
คุณค่าทางอาหาร :
กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก
ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย :
1.รักษาอาการแน่นจุกเสียด ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม ทุบพอแตก ต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ
2.ใช้รากกระชายบำบัดอาการ ED (Erectile Dysfuntional) หรือโรคนกเขาไม่ขัน โดยกินทั้งราก
วิธีที่ ใช้ตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ 3-4
วิธีที่ รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ ถ้าไม่เห็นผลกินอีก แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน
วิธีที่ เพิ่มกระชายในอาหาร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ 3 (ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริก ออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)) โดยไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร
3.บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ ข้อนิ้วก้อยจนครบ สัปดาห์
4.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก แง่งกับน้ำสะอาด แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ วัน                                                  
5.แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้ง ละ  ช้อนกาแฟเล็ก(เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ มื้อก่อนอาหาร 15 นาที:7 วัน                                                                  
6.ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน เท่าของปริมาณกระชาย  (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน                                                          
7.แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทยหรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก    
8.ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2
9.ฤทธิ์บำรุงหัวใจ นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา





 






Amezon

comment